ประวัติโรงเรียนบ้านปากลง
|
 |
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนบ้านปากลง ก่อตั้งเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๔๘๗ โดยนายจันทร์ แก้วนุ่น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ และ นายแดง เมืองสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ ตำบลนบพิตำ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยราษฎร ( ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ ๕, ๖, ๗, ๘, ๙ ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ) พื้นที่ของโรงเรียนบ้านปากลง มีพื้นที่ ๘ ไร่ นายสุข จันทร์ชุม เป็นผู้ยกให้ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๘๗ คิดเป็นมูลค่า ๑,๘๐๐ บาท ( หนึ่งพันแปดร้อยบาทถ้วน )
ทิศเหนือ จดที่ดินของ นางสะอาด เจริญพร
ทิศใต้ จดถนนหลวง
ทิศตะวันออก จดถนนส่วนบุคคล
ทิศตะวันตก จดหลักเขตสายน้ำตามธรรมชาติ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นายเอื้อน เจริญพร รักษาการณ์ในตำแหน่งครูใหญ่ ( ผู้บริหารคนแรกของโรงเรียนบ้านปากลง ) เปิดทำการสอน ชั้น ป.๑ - ๒ มีนักเรียน ๓๑ คน ครู ๑ คน
อนึ่ง วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นต้นมา โรงเรียนบ้านปากลง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านปากลงจัดการศึกษา ๓ ระดับ คือ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด ๓๔๒ คน มีบุคลากรทั้งหมด ๒๐ คน ได้แก่ ผู้บริหาร ๒ คน ข้าราชการครู ๑๔ คน ธุรการโรงเรียน ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน
ที่ตั้ง
โรงเรียนบ้านปากลง ตั้งอยู่ หมู่ที่๕ ถนน - ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ ๘๐๑๖๐ โทรศัพท์ ๐-๗๕๗-๕๒๖๓๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีเขตพื้นที่บริการ ๕ หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ ๕,๖,๗,๘,๙ ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สภาพชุมชน
๑) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นหมู่บ้าน มีประชากรประมาณ ๓,๖๐๐ คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่หมู่ที่ ๕,๖,๗,๘,๙ อาชีพหลักของชุมชน คือทำสวน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือการทำบุญวันสารทเดือนสิบ
๒) ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ อาชีพหลักคือทำสวน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี ๔๐,๐๐๐บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๔ คน
๓) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านปากลงเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในชุมชน จึงมีโอกาสในการใช้แหล่งเรียนรู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนมากที่สุด ได้แก่
- สถานีอนามัย เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในด้านการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน ให้มีสุขภาพที่ดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยได้มาอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสุขภาพอนามัยและการตรวจสุขภาพนักเรียน
- องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นของตำบล ประชากรในตำบลนั้น ๆ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ บทบาทหน้าที่ของผู้นำ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯการเสียภาษีที่ดินการบริการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ถนนในหมู่บ้าน
- วัด เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านการอบรมคุณธรรมจริยธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น เป็นสถานที่ปฏิบัติกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและเป็นสถานที่ บวชเรียนของนักเรียน (สามเณรภาคฤดูร้อน)
- ศาลาพ่อท่านกลาย และคลองกลาย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญมากของท้องถิ่นนบพิตำใช้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ความสำคัญของสถานที่ประโยชน์ของคลองกลาย การอนุรักษ์แหล่งน้ำ
สีประจำโรงเรียน
สีขาวและสีแดง
อักษรย่อของโรงเรียน
ป.ล.
|
ดาวน์โหลดไฟล์ ์
|